วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558






เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ[3]
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ[ต้องการอ้างอิง] โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสีศ.เสน่ห์ จามริกศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรนอกภาครัฐจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6]โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ

ข่าวสังคมด้านดี






  เมื่อเวลา 10.20 น. วันที่ 18 กรกฎาคม ขณะที่ ร.ต.ท.ณรงค์ชัย เสนาพรหม ร้อยเวร สน.ปทุมวัน เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่ มีนายหนูลิด วังคีรี อายุ 32 ปี อยู่บ้านเลขที่ 18 หมู่ 3 ต.วังขาว อ.ด่านซ้าย จ.เลย โชว์เฟอร์สามล้อเครื่อง ทะเบียน 1ส 4705 กรุงเทพมหานคร นำกระเป๋าสตางค์สีน้ำตาล ภายในมีเงินสดสกุลต่างประเทศจำนวนมาก ประกอบด้วย ธนบัตรฉบับละ 100 ดอลลาร์ 19 ใบ ฉบับละ 50 ดอลลาร์ 1 ใบ ฉบับละ 20 ดอลลาร์ 3 ใบ ฉบับละ 5 ดอลลาร์ 5 ใบ ฉบับละ 1 ดอลลาร์ 1 ใบ เงินปอนด์ 55 ปอนด์ เงินเกาหลี 3,000 วอน เงินอิหร่าน 20,000 รีอัล คิดเป็นเงินไทย 70,000 บาทเศษ บัตรสมาชิกสายการบิน 2 ใบ และบัตรเครดิต 3 ใบ ระบุชื่อนายอาหมัด โนลูซี่ และนางซอเลีย ฮายาชิ พร้อมรูปถ่ายนักท่องเที่ยวเจ้าของกระเป๋าสตางค์ เข้ามามอบให้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน และให้ช่วยติดตามส่งคืนเจ้าของด้วย  
         นายหนูลิด กล่าวว่า เวลา 10.00 น. มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นชาย 1 คน หญิง 1 คน ว่าจ้างจากหน้า โรงแรมแกรนด์ไดม่อน ริมถนนเพชรบุรี ให้ไปส่งที่ห้างสรรพสินค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ ในราคา 50 บาท เมื่อขับรถไปถึงที่หมาย ทั้ง 2 คน ชำระค่าโดยสารแล้วเดินไป จนมาพบว่าทั้งคู่ลืมกระเป๋าสตางค์ไว้ 

         ด้าน พ.ต.อ.ชุมพร กาญจนรัตน์ ผกก.สน.ปทุมวัน กล่าวว่า ได้ส่งตำรวจสายตรวจประสานไปยังห้างสยามดิสคัฟเวอรี่ และที่โรงแรมแกรนด์ไดม่อน เพื่อตรวจสอบว่าเจ้าของเป็นใครและให้มารับคืน 

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

รุ่งอรุณวิทยา



เป็นโรงเรียนเอกชนสหศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีบาทหลวงหลุยส์ นิโกลาส ได้ซื้อที่ดินจำนวน 15 ไร่จากหม่อมราชวงศ์ชวนิตนดากร วรวรรณ ซึ่งบาทหลวงหลุยส์ นิโกลาส มอบให้นายบุญถึง ศรีสุระ เป็นเจ้าของที่ดินแทนแล้วในปี พ.ศ. 2503 บาทหลวงหลุยส์ นิโกลาส ได้เชิญพ่อค้า ประชาชน ข้าราชการ นายอำเภอในอำเภอปากช่อง ประชุมปรึกษาเรื่องการสร้างโรงเรียนที่ชื่อว่า "โรงเรียนรุ่งอรุณวิทยา" แล้วเปิดทำการสอนเป็นครั้งแรกเมื่อ ปีพ.ศ. 2504มาเขต 4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ

โรงมวกเหล็กวิทยา


ในระยะแรกอาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนวัดมวกเหล็กนอก (ราษฎร์พัฒนา) มีนักเรียน 46 คน และครู 6 คน มีนายทวี จันทวร เป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน ต่อมาได้ย้ายมาตังในที่ดินราชพัสดุ ซึ่งอยู่ในความดูแลขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) มีเนื้อที่ 41 ไร่ 0 งาน 13 ตารางวา มีอาคารเรียน 1 หลังเป็นแบบ 216 ล ซึ่งเป็น อาคาร 1 ในปัจจุบัน ปีการศึกษา 2521 มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ และจำนวนนักเรียนชั้น ม.1 เพิ่มมากขึ้น จึงได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง [1]
ปีการศึกษา 2522 ได้รับงบประมาณสร้างหอประชุม 1 หลังอาคารโรงฝึกงาน 3 หลัง จำนวน 6 หน่วยอาคารพยาบาลและสหกรณ์จำนวน 1 หลัง
ปีการศึกษา 2527 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีแผนการเรียน 2 แผนการเรียน ได้แก่ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ และแผนการเรียนเกษตรกรรม
ปีการศุกษา 2528 ได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่ราชพัสดุในการดูแลขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อสค)เพื่อสร้างสนามกีฬา จำนวน 7 ไร่ 0 งาน 05 ตารางวา
ปีการศึกษา 2531 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการนำร่อง "การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2524 เพื่อประกอบอาชีพอิสระ"ของกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนจึงได้เปิดผนการเรียนอาชีพอิสระเพิ่มขึ้นอีก 1 แผนการเรียน และในปีนี้โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตรประจำปีการศึกษา 2532 โรงเรียนได้จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็น 6-5-5 และในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็น 3-2-2 รวมจำนวนห้องเรียน 23 ห้อง
ปีการศึกษา 2533 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาหลักสูตร มีนักเรียน 802 คน ครู-อาจารย์ 47 คน จำนวนห้องเรียน 23 ห้อง นักการภารโรง 5 คน และพนักงานขับรถ 1 คน
ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ"หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน"
ปีการศึกษา 2555 มีที่ดิน 48 ไร่ 0 งาน 18 ตารางวา มีครู-อาจารย์ 68 คน ครูอัตราจ้าง 8 คน พนักงานราชการ 2 คน มีจำนวนนักเรียน 1,600 มีนักการภารโรง 3 คน พนักงานขับรถ 1 คน
ปีการศึกษา 2556 ปัจจุบันมีที่ดิน 48 ไร่ 0 งาน 18 ตารางวา มีครู-อาจารย์ 63 คน ครูอัตราจ้าง 12 คน พนักงานราชการ 2 คน มีจำนวนนักเรียน 1,589 มีนักการภารโรง 3 คน พนักงานขับรถ 1 คน